ชุดนอนนาโซล่าเซลล์ เลือกซื้อยังไง ระบบออฟกริดดีไหม

โซล่าเซลล์ชุดนอนนาคืออะไร วันนี้โซล่ากูรูมาทำความรู้จัก และเข้าใจการทำงานของชุดโซล่าเซลล์ นอนนา ตั้งแต่ส่วนประกอบของชุดนอนนาที่สำว่ามีอะไรบ้าง วิธีเลือกซื้อชุดโซล่าเซลล์นอนนาว่าต้องดูอย่างไร และควรตรวจสอบอะไรบ้างก่อนซื้อ นอกจากนี้ยังได้เปรียบเทียบราคาชุดนอนนาแต่ละขนาด พร้อมปริมาณการใช้ไฟว่าใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ขาดไม่ได้เลยคือวิธีดูแลรักษาที่ถูกวิธี เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุด สำหรับใครที่มีข้อสงสัย ลองดูคำถามที่โซล่ากูรูได้รวบรวมมาในตอนท้าย น่าจะช่วยตอบคำถามที่ค้างคาใจได้บ้าง

ชุดนอนนาโซล่าเซลล์ คืออะไร

ชุดนอนนาโซล่าเซลล์ คือ ระบบโซล่าเซลล์ออฟกริด (Off grid Solar sytem) ที่ใช้กันมากในกลุ่มเกษตรกร จึงเกิดเป็นชื่อที่เรียกว่า “โซล่าเซลล์ ชุดนอนนา” ซึ่งเป็นชุดอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าสำเร็จรูปจากแสงอาทิตย์ ไม่ต้องขออนุญาตการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เพราะเป็นกล่องที่สามารถใช้งานได้ทันที สะดวกต่อการพกพา เหมาะสำหรับใช้ในที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ดังนั้นแบตเตอรี่โซล่าเซลล์จึงเป็นอุปกรณ์สำคัญของชุดนอนนา โซล่าเซลล์ เพราะแบตเตอรี่ทำหน้าที่กักเก็บประจุไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ และอินเวอร์เตอร์ที่มีในชุดนอนนาจะทำหน้าที่แปลงไฟจากกระแสตรง (DC) เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ปัจจุบันปี 2565 โซล่าเซลล์ชุดนอนนา ไม่ได้ถูกใช้เฉพาะเกษตรกรเท่านั้น แต่มีการใช้งานสำหรับตั้งแคมป์ และการเดินทางเที่ยวด้วยรถบ้านนด้วย

อุปกรณ์สำหรับชุดนอนนา แบบพร้อมใช้งาน

  1. แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panels) สำหรับผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
  2. อินเวอร์เตอร์ (inverter) ตัวแปลงกระแสไฟฟ้าจากกระแสตรงไปกระแสสลับ
  3. โซล่าชาร์จเจอร์ (Solar charger) ตัวควบคุมการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ ให้สภาวะไฟฟ้าอยู่ในสมดุล
  4. แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ (Solar Battery) ตัวเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้
  5. สายไฟ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์
โซล่าเซลล์ ชุดนอนนา
ชุดนอนนา โซล่าเซลล์แบบออฟกริด

โซล่าเซลล์ชุดนอนนา 5000w หมายถึงอะไร

โซล่าเซลล์ ชุดนอนนา 5000w หมายถึง ชุดโซล่าเซลล์ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมชั่วโมงละ 5,000 วัตต์ (5kwp) จุดสังเกตุที่สำคัญ คือ ค่าวัตต์ต่อชั่วโมงบนแบตเตอรี่ต้องอยู่ระหว่าง 10kwh-13kwh ข้อสำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ ชุดนอนนา 5000w จะต้องติดตั้งกับแผงโซล่าเซลล์ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 5,000 วัตต์เล็กน้อย เผื่อไว้สำหรับวันที่แสงไม่พอ หรือช่วงฤดูฝนที่แสงอาจจะไม่เข้มเพียงพอ

ชุดนอนนา 5000w ใช้กับอะไรได้บ้าง

  1. ตู้เย็นขนาด 7 คิว ตลอด 24 ชั่วโมง
  2. ทีวีขนาด 35 นิ้ว เปิดได้วันละ 4 ชั่วโมง
  3. หลอดไฟในบ้าน 5 หลอด เปิดวันละ 5-8 ชั่วโมง
  4. ชาร์จมือถือ 2 เครื่อง วันละ 4 ชั่วโมง
  5. พัดลม 2 เครื่อง เปิดตลอด 24 ชั่วโมง
  6. โน๊ตบุ๊ค 2 เครื่อง ชาร์จวันละ 8 ชั่วโมง
เครื่องใช้ไฟฟ้าวัตต์ต่อชั่วโมงชั่วโมงใช้งานวัตต์ต่อวัน
ตู้เย็นขนาด 7 คิว650 wh24 ชั่วโมง15,600
ทีวีขนาด 35 นิ้ว80 wh4 ชั่วโมง320
หลอดไฟ 5 หลอด10 wh5 ชั่วโมง250
ชาร์จมือถือ 2 เครื่อง12 wh4 ชั่วโมง96
พัดลม 2 เครื่อง45 wh24 ชั่วโมง2,160
โน๊ตบุ๊ค 2 เครื่อง50 wh8 ชั่วโมง800

เมื่อเอาวัตต์ต่อชั่วโมง (wh) ของทุกเครื่องใช้ไฟฟ้ามาคูณจำนวนชั่วโมงที่ใช้ เราจะได้ค่าวัตต์ที่ใช้ต่อวัน นำค่าวัตต์ที่ได้มารวมกันแล้วนำมาหารด้วยจำนวนชั่วโมงที่ชุดโซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ซึ่งปกติจะอยู่ที่ประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวัน (watt peak)

ตัวอย่างจากตารางเครื่องใช้ไฟฟ้ากับชุดนอนนา 5000w

รวมค่าวัตต์ต่อวัน: 15,600 + 320 + 250 + 96 + 2,160 + 800 = 19,226 วัตต์ต่อวัน เมื่อนำมาหารด้วยจำนวนชั่วโมงที่ผลิตไฟฟ้าได้ จะได้ค่าวัตต์สำหรับชุดนอนนาที่ควรเลือกใช้ 19,226/5 = 3,845 จะเห็นว่าจำนวนวัตต์ที่ต้องผลิตอยู่ที่ประมาณ 4,000 วัตต์ต่อชั่วโมงเท่านั้น แต่ชุดนอนนาที่เหมาะกับคนที่ใช้ไฟประมาณนี้คือ ชุดนอนนา 5kw เพราะเราควรเผื่อวัตต์ให้มากกว่าไฟที่ต้องใช้เสมอ

เรื่องที่ต้องคิดก่อนซื้อชุดนอนนา

วิธีการเลือกซื้อชุดนอนนา โซล่าเซลล์ 2565

โซล่าเซลล์ชุดนอนนา แบบสำเร็จรูป ประกอบไปด้วย แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel), เครื่องควบคุมการชาร์จไฟ หรือคอนโทรลชาร์จเจอร์​ (Solar Control Charger), อินเวอร์เตอร์ (Inverter) และแบตเตอรี่ (Battery) สำหรับใครที่กำลังสนใจซื้อชุดโซล่าเซลล์ นอนนา สามารถนำวิธีต่อไปนี้ไปใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้อได้

  1. เลือกแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับการใช้งาน คำนวณว่าคุณต้องการใช้กระแสไฟเท่าไหร่ และเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้อย่างน้อย 20%  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไฟตกหรือไม่เสถียร และเป็นการยืดอายุการใช้งานของแผงโซล่าเซลล์อีกด้วย
  2. เครื่องควบคุมการชาร์จไฟต้องตรงกับขนาดวัตต์ เครื่องควบคุมการชาร์จไฟที่มาพร้อมกับชุดนอนนานั้น ต้องตรงกับขนาดวัตต์ของแผงโซล่าเซลล์หรือมากกว่า เพื่อการทำงานที่ได้ประสิทธิภาพ และเพื่อความทนทานของตัวคอนโทรลชาร์จเจอร์
  3. อินเวอร์เตอร์ควรมีขนาดที่มากกว่าไฟที่ใช้ อินเวอร์เตอร์ของชุดนอนนา ทำหน้าที่แปลงไฟจากโซล่าเซลล์ วิธีเลือกนั้นให้ดูที่ขนาดกำลังวัตต์ของไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดภายในบ้าน และเลือกอินเวอร์เตอร์ที่มีขนาดมากกว่าอย่างน้อย 30% – 40% 
  4. แบตเตอรี่ สำหรับชุดนอนนาโซ่ล่าเซลล์ ควรเลือกใช้แบตเตอรี่แบบ Deep-Cycle เพราะมีคุณสมบัติจ่ายไฟประจุสูงได้ดี ทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้นาน และกักเก็บพลังงานไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง มีความทนทนกว่าแบตเตอรี่รถยนต์

เปรียบเทียบราคาโซล่าเซลล์ ชุดนอนนา

ตารางเปรียบเทียบราคาโซล่าเซลล์ชุดนอนนา แบบไม่รวมราคาแผงโซล่าเซลล์ ราคาชุดนอนนาที่เห็นเป็นราคาของวงจรชุดนอนนาเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเลือกจำนวนวัตต์ของวงจรชุดนอนนาแล้ว จำเป็นต้องติดตั้งขนาดแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะสม จึงจะได้กำลังไฟตามที่ระบุบนวงจรชุดโซล่าเซลล์นอนนา

โซล่าเซลล์ชุดนอนนาราคา (บาท)เปิดไฟ (ชั่วโมง)ตู้เย็น
ชุดนอนนา 220v3,000 – 5,0004-6 ชั่วโมงไฟไม่พอ
ชุดนอนนา 100w1,500 – 2,000 3-5 ชั่วโมงไฟไม่พอ
ชุดนอนนา 300w2,000 – 5,0006-8 ชั่วโมงไฟไม่พอ
ชุดนอนนา 500w5,000 – 7,0008-10 ชั่วโมงไฟไม่พอ
ชุดนอนนา 1000w6,000 – 10,00010-12 ชั่วโมง24 ชั่วโมง
ชุดนอนนา 3000w7,000 – 12,00012-24 ชั่วโมง24 ชั่วโมง
ชุดนอนนา 5000w8,000 – 17,00024-36 ชั่วโมง24 ชั่วโมง
ชุดนอนนา 6000w9,000 – 25,00024-48 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง

อายุการใช้งานของโซล่าเซลล์ ชุดนอนนา

หากดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ ชุดโซล่าเซลล์นอนนาออฟกริด สามารถใช้ได้นานไม่น้อยกว่า 20-25 ปี อายุการใช้งานเท่ากับระบบโซล่าเซลล์ประเภทอื่นๆ โดยระหว่าง 25 ปีนี้ อาจมีการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนอุปกรณ์อยู่บ้าง เช่น อินเวอร์เตอร์ที่มีอายุการใช้งานที่ 10-15 ปี และแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 5–10 ปี 

การดูแลรักษา

ควรหมั่นทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อยู่เสมอ ไม่ให้มีคราบฝุ่น เศษใบไม้ หรือมูลสัตว์เลอะเทอะบริเวณแผงโซล่าเซลล์ เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพในการไฟลของกระแสไฟลดลง โดยวิธีทำความสะอาดก็ง่าย ๆ ให้ใช้น้ำเปล่าเช็ดบริเวณแผงโซล่าเซลล์อย่างเบามือ และใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกครั้งให้แห้งสนิท เช่นเดียวกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นก็ให้ทำความสะอาดในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน รวมถึงตรวจสอบการชำรุดเป็นประจำอย่างน้อย 1 – 3 เดือนต่อครั้ง 

Q&A ชุดนอนนา


ติดตั้งชุดนอนนาโซลาเซลล์ เองได้ไหม

โซล่าเซลล์ชุดนอนนา เป็นโซล่าเซลล์ชุดสำเร็จรูป ที่พร้อมใช้งาน มีลักษณะเป็น power box หรือกล่องเก็บพลังงาน มีทั้งรูปลั๊กไฟ และช่อง USB สำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือ สามารถใช้กับหลอดไฟ พัดลม ตู้เย็น ทีวี หม้อหุงข้าว เหมาะสำหรับพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก แต่ชุดนอนนาที่มีกำลังวัตต์ต่ำจะมีกำลังไฟไม่มาก ไม่เหมาะสำหรับใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดพร้อมๆ กัน

โซล่าเซลล์ชุดนอนนาผลิตไฟฟ้าพอใช้ในบ้านไหม

ชุดนอนนาโซล่าเซลล์สามารถผลิตไฟได้เพียงพอต่อการใช้งานภายในบ้าน โดยโซล่ากูรูแนะนำให้ใช้ชุดนอนนาชุดใหญ่และแบตเตอรี่ไม่น้อยกว่า 7Kw หรือ 7,000 วัตต์ ขึ้นไป ทั้งนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน จำนวนชั่วโมงที่ใช้งาน และสภาพอากาศก็มีผลต่อระดับพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ด้วย การที่จะมีไฟฟ้าใช้ได้ครอบคลุมตลอดทั้งวัน จำเป็นต้องใช้โซล่าเซลล์ชุดนอนนาชุดใหญ่ที่มีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ สามารถผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อการใช้งาน

ระบบออฟกริดชุดนอนนา คุ้มค่าไหม

การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ชุดนอนนา ไม่ใช้งบประมาณสูงเท่ากับติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ทั่วไป เพราะวงจรของชุดนอนนาไม่ยุ่งยาก ราคาชุดนอนนาจึงไม่สูง ส่งผลให้มีคนใช้งานกันมาก โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการไฟฟ้าในสวน หรือพื้นที่ห่างไกลไฟฟ้า ซึ่งถือว่าคุ้มค่าแก่การลงทุนแน่นอน หลังใช้งานไปประมาณ 5 ปีก็คุ้มค่าแล้ว นอกจากเกษตรกรแล้ว ชุดนอนนาก็นิยมใช้ในการแคมป์ ทำให้มีไฟฟ้าใช้ เพิ่มความสะดวกสบายของการตั้งแคมป์

ต้องใช้แบตเตอรี่กี่โวลต์ สำหรับระบบออฟกริดชุดนอนนา

จะใช้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้าที่คุณต้องการใช้ โดยหากต้องการใช้ไฟฟ้าประมาณ 1,000 – 5,000 วัตต์ ให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ขนาด 24 โวลต์ แต่ถ้าเป็นบ้านขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้ไฟมากกว่า 3,000 วัตต์ขึ้นไป ต้องเพิ่มขนาดเป็น 48 โวลต์ จึงจะสามารถใช้ได้เหมาะสมกับการใช้งาน

ระบบออฟกริดชุดนอนนา ต้องใช้แบตเตอรี่กี่ลูก

ใน pantip มีคำแนะนำเรื่องจำนวนแบตเตอรี่ว่า ใช้แค่ 1 ลูกก็เพียงพอต่อการใช้งานภายในบ้านแล้ว ซึ่งแบตเตอรี่ 1 ลูกนั้น สามารถเลือกขนาดความจุของแบตเตอรี่ได้ความเหมาะสมของการใช้งาน หรืออาจจะใช้ 2 ลูก เพื่อขยายเวลาการใช้ไฟ และเพิ่มกำลังไฟ 

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวน่ารู้ของชุดนอนนาโซล่าเซลล์ ซึ่งโซล่ากูรูขอฝากไว้เล็กน้อยว่า ก่อนเลือกซื้อควรตรวจสอบปริมาณการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ที่จะนำชุดนอนนาไปใช้ก่อน เพื่อจะได้ซื้อมาในขนาดที่หมาะสมกับการใช้งาน ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป