โซล่าชาร์จเจอร์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Solar Charger หรือ Control Charger เป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) เข้าสู่แบตเตอรี่โซล่าเซลล์ (Solar Battery) อุปกรณ์โซล่าชาร์จเจอร์มีชื่อเรียกในภาษาไทยหลายชื่อ ตัวอย่างเช่น ชาร์จเจอร์โซล่าเซลล์, โซล่าชาร์จ คอนโทรลเลอร์ หรือคอนโทรลชาร์จเจอร์ (Control Charger), โซล่าเซลล์ชาร์จเจอร์ เป็นต้น
โซล่ากูรูจะมาแนะนำให้ได้รู้ว่า โซล่าชาร์จเจอร์คืออะไร มีหน้าที่และหลักการทำงานอย่างไร โซล่าชาร์จเจอร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และแต่ละแบบเหมาะกับการใช้งานในลักษณะไหน พร้อมบอกวิธีเลือกซื้อให้เหมาะกับขนาดของแผงโซล่าเซลล์ โดยไม่ลืมที่จะหยิบเอาลิสต์ยี่ห้อและแหล่งซื้อโซล่าชาร์จเจอร์มาฝากทุกคนเหมือนเคย
โซล่าชาร์จเจอร์ (Solar Charger) คืออะไร
Solar charger คือ อุปกรณ์ควบคุมการชาร์จไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตด้วยแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งโซล่าชาร์จเจอร์เป็นตัวกลางสำคัญในระบบโซล่าเซลล์ และติดตั้งอยู่ระหว่างแผงโซล่าเซลล์และแบตเตอรี่ (Solar Battery) โซล่าชาร์จเจอร์ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟให้อยู่ในภาวะปกติ ตรวจสอบระดับพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ หากกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่โซล่าเซลล์เหลือน้อย โซล่าชาร์จเจอร์ก็จะปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในแบตเตอรี่ให้เต็มและพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา หากไม่มีโซล่าชาร์จเจอร์ อาจส่งผลให้แบตเตอรี่และระบบโซล่าเซลล์เสื่อมสภาพก่อนอายุการใช้งานจริงได้
หลายคนเข้าใจว่า Solar charger คืออันเดียวกับ Portable Solar Charger หรือที่ชาร์จแบตเตอรี่แบบพกพา แต่ที่จริงแล้วโซล่าชาร์จเจอร์ เป็นอุปกรณ์ควบคุมการชาร์จแบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซลล์ ไม่ใช่ที่ชาร์จแบตเตอรี่แบบพกพา ที่สามารถชาร์จไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้
หน้าที่ และเหตุผลที่ต้องติดตั้งโซล่าชาร์จเจอร์
โซล่าชาร์จเจอร์ (Solar Charger) ทำหน้าที่ควบคุมการชาร์จประจุไฟฟ้า ก่อนจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่โซล่าเซลล์ ซึ่งหากไม่มีการควบคุมประจุไฟฟ้า อาจทำให้การจ่ายไฟเกิดปัญหา ทำให้แบตเตอรี่และระบบโซล่าเซลล์ (Photovoltaic Systems) เกิดความเสียหายได้ อายุการใช้งานของระบบโซล่าเซลล์จะสั้นลง นอกจากนี้โซล่าเซลล์ชาร์จเจอร์ ยังทำหน้าที่ช่วยป้องกันกระแสไฟจากแบตเตอรี่ไหลย้อนกลับไปยังแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งอาจทำให้แผงโซล่าเซลล์ได้รับความเสียหายเช่นกัน และอีกหนึ่งหน้าที่ที่สำคัญคือ ทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิดปิดไฟอัตโนมัติ โดยเมื่อฟ้ามืดแผงโซล่าเซลล์จะหยุดผลิตไฟฟ้า โซล่าชาร์เจอร์จะเริ่มทำการจ่ายไฟออกจากแบตเตอรี่ทันที
หลักการทำงานของ Solar Charger
โซล่าชาร์จเจอร์จะรับกระแสไฟฟ้าที่แผงโซล่าเซลล์ผลิต และทำการควบคุมการจ่ายกระแสไฟก่อนส่งไปเก็บสำรองในแบตเตอรี่ โซล่าชาร์จเจอร์จะคอยตรวจสอบระดับกระแสไฟฟ้าในวงจรแบตเตอรี่ เมื่อกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่อยู่ในระดับต่ำ คอนโทรลชาร์จเจอร์ก็จะทำการจ่ายไฟเข้าไปให้อย่างช้าๆ ด้วยแรงดันไฟฟ้าที่มีความเสถียร และเมื่อกระแสไฟจุเต็มศักยภาพของแบตเตอรี่แล้ว ก็จะทำการตัดการจ่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อป้องกันการเกิด Over Charge หรือจ่ายไฟมากเกินไป ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แบตเตอรี่พังเร็วกว่าปกติ
คอนโทรลชาร์จเจอร์มีกี่ประเภท
เครื่องคอนโทรลชาร์จเจอร์ สำหรับโซล่าเซลล์มี 2 ประเภท ได้แก่ โซล่าชาร์จเจอร์ mppt และโซล่าชาร์จเจอร์ pwm ซึ่งแตกต่างกันที่ระบบการทำงานและเหมาะกับการใช้งานในระบบโซล่าเซลล์ที่ต่างกัน
โซล่าชาร์จเจอร์ mppt คืออะไร
เครื่องโซล่าชาร์จเจอร์ mppt (mppt solar charger) คือเครื่องคอนโทรลชาร์จเจอร์ที่มีระบบตัวจับสัญญาณ แบบใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ซึ่ง mppt ย่อมาจาก Maximum Power Point Tracking ทำหน้าที่ควบคุมดูแลสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์
โซล่าชาร์จเจอร์ pwm คืออะไร
เครื่องโซล่าชาร์จเจอร์ pwm (pwm solar charger) คือเครื่องคอนโทรลชาร์จเจอร์ที่ใช้วิธีควบคุมความถี่ของคลื่นไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ให้คงที่ โดย pwm ย่อมาจาก Paluse Width Module เครื่องคอนโทรลชาร์จเจอร์แบบ pwm นั้นทำงานด้วยระบบดิจิทัล จึงช่วยประหยัดพลังงานได้ดี และควบคุมประจุไฟฟ้าที่เข้าสู่แบตเตอรี่ได้ดี ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีระบบตัดไฟอัตโนมัติเมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมด เพื่อป้องกันแบตเสื่อมหรือพังเร็วกว่าอายุการใช้งาน
ควรใช้โซล่าชาร์จเจอร์ mppt หรือ pwm ดี
คอนโทรลชาร์จเจอร์แบบ pwm เหมาะกับระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริด (off grid solar system) ที่กระแสไฟฟ้าไม่มาก และต้องเป็นนระบบออฟกริดขนาดเล็กถึงขนากกลาง ราคาคอนโทรลชาร์จเจอร์ pwm จะถูกกว่าคอนโทรลชาร์จเจอร์ mppt มาก ดังนั้นในชุดนอนนาโซล่าเซลล์ จะนิยมใช้โซล่าชาร์จเจอร์ pwm มากกว่า
คอนโทรลชาร์จเจอร์แบบ mppt เหมาะกับระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริด (on grid solar system) และระบบโซล่าเซลล์แบบไฮบริด (Hybrid solar system) เพราะโซล่าชาร์จเจอร์ mppt มีประสิทธิภาพในการควบคุมการชาร์จไฟมากกว่าระบบโซล่าชาร์จเจอร์ pwm ถึง 30% จึงเหมาะแก่ระบบโซล่าเซลล์ที่มีศักยภาพการผลิตไฟฟ้าสูง ราคาคอนโทรลชาร์จเจอร์ mppt จะสูงกว่า 2-3 เท่าของราคาคอนโทรลชาร์จเจอร์ pwm
ขนาดของโซล่าชาร์จเจอร์ที่นิยมใช้ของทั้ง 2 แบบนั้น มีตั้งแต่ 10A – 100A ซึ่งโซล่ากูรูขอแนะนำให้เลือกตามแรงดัน Input ขนาด 12 โวลต์ (12V), 24V, 48V และ 96V
วิธีเลือกซื้อคอนโทรลชาร์จเจอร์ (Control Charger ) และแผงโซล่าเซลล์ให้ถูกขนาด
- เอาจำนวนแผงโซล่าเซลล์คูณกับวัตต์ของแต่ละแผง เพื่อให้ได้จำนวนวัตต์ทั้งหมดที่แผงโซล่าเซลล์สามารถผลิตได้
- เอาขนาดของความจุแบตเตอรี่ (จำนวนโวลต์) มาหารจำนวนวัตต์ที่ได้ เพื่อให้ได้ขนาดของแอมป์โซล่าชาร์จเจอร์ที่เหมาะสม
- คูณ 25% สำหรับความแปรผันของอุณหภูมิที่ส่งผลต่อศักษภาพการกักเก็บกระแสไฟ
โซล่าชาร์จเจอร์ ยี่ห้อไหนดี 2565
- SUOER คนไทยรู้จักมานาน เริ่มต้นธุรกิจอุปกรณ์โซล่าเซลล์จากตัวอินเวอร์เตอร์ ราคาถูก คุณภาพใช้ได้สมราคา
- Apple Green เป็นยี่ห้อโซล่าชาร์จเจอร์ ราคาดี คุณภาพใช้ได้ ป้องกันปัญหาแรงดันไฟฟ้าไหลได้ดี
- EPever ยี่ห้อดังใช้งานทั่วโลก คุณภาพดี แต่ขนาดมีให้เลือกน้อย สูงสุดอยู่ที่ 40A แถมราคายังแรง แต่ก็คุ้มค่าต่อการใช้งาน
- PowMr ออกแบบสวยงามดูทนทาน สเปกสูงคุ้มค่าเกินราคา รับกำลังไฟได้สูง ติดตรงไม่มีตัวกันสายไฟแต่ละเส้น แต่ก็ยังเป็นแบรนด์ชาร์จเจอร์ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ
- Nataku มีรุ่นที่มีจอแสดงผล LCD ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างแม่นยำมากกว่าเดิม ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรได้ ราคาประหยัด หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป
แหล่งซื้อโซล่าชาร์จเจอร์ ของแท้ มีคุณภาพ
ปัจจุบันมีการจำหน่ายของปลอมที่ไม่ได้คุณภาพกันมาก โดยเฉพาะหากซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์บน E-Marketplace ซึ่งแม้ศึกษาข้อมูลมาดีก็อาจพลาดพลั้งได้เช่นกัน โซล่ากูรูจึงได้รวบรวมแหล่งซื้อที่น่าเชื่อถือมา มั่นใจว่าได้ของแท้มีคุณภาพมาใช้งานแน่นอน
Q&A ชาร์จเจอร์โซล่าเซลล์
เห็นไหมว่าชาร์จเจอร์โซล่าเซลล์เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่สำคัญต่อระบบโซล่าเซลล์ไม่น้อย ช่วยให้การเก็บพลังงานไฟฟ้าสู่แบตเตอรี่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดปัญหาจ่ายไฟมากหรือน้อยเกินไป ดีต่อแบตเตอรี่ที่ใช้ ซึ่งโซล่ากูรูขอย้ำเตือนว่า อย่าลืมเลือกชาร์จเจอร์ขนาดที่เหมาะสมกับแผงโซล่าเซลล์และแบตเตอรี่ โดยสามารถคำนวณได้ตามวิธีที่เรานำมาฝาก เพื่อให้สามารถใช้งานได้คุ้มค่า ได้ไฟฟ้าที่เสถียรและเพียงพอต่อการใช้งาน